สวัสดีครับ อาฑิตย์นี้เราจะพักเรื่องเกมกันก่อนวันนี้ผมจะมาจะมาแนะนำ เทคนิคเบื้อต้นในการต่อหุ่น กันพลาให้ออกมาสวยงามด้วย 5 เทคนิคง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถซื้อได้ทั่วไป ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย
1. ต่อดิบ (ประกอบเป็นตัว)
ขั้นตอนแรกถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อหุ่น เมื่อเปิดกล่องจะเจอแผงชิ้นส่วนหลายๆแผงอยู่ในนั้น ก็แนะนำว่าควรนำแผงมาจัดเรียงตามตัวอักษรซะก่อนไล่ไปตั้งแต่ A B C D … เสร็จแล้วตอนจะเริ่มต่อก็ให้ดูจากคู่มือไปที่ละขั้นตอน ว่าจะใช้ชิ้นส่วนหมายเลขไหนจากแผงไหน ก็เลือกตัดออกเฉพาะชิ้นที่จะใช้ แล้วนำมาประกอบรวมกัน ทำไปเรื่อยๆที่ละขั้นตอนก็จะเสร็จออกมาเป็นผลงานที่สมบูรณ์ได้ไม่ยาก *** อย่างตัดชิ้นส่วนออกจากแผงทั้งหมดทีเดียวเพราะจะทำให้ไม่รู้หมายเลข แล้วจะงงมาก เทคนิคการแยกชิ้นส่วนการแยกชิ้นส่วนออกจากแผง ถ้าคนที่ไม่รู้วิธีอาจจะใช้มือเด็ดชิ้นส่วนออกจากแผงแบบบ้านๆเลย แต่ถ้าทำแบบนั้นอาจจะทำให้ชิ้นส่วนเกิดรอยตำหนิและทำให้ชิ้นงานไม่สวยได้ อุปกรณ์ที่ช่วยในการแยกชิ้นส่วนออกจากแผงได้ดีคือ คีมตัดแบบมีคม ไม่ใช่คีมตัดลวดนะครับ หรือถ้าหาคีมไม่ได้จริงๆสามารถใช้กรรไกรตัดเล็บแทนก็ได้ โดยจังหวะแรกที่ตัดให้เว้นระยะออกห่างจากชิ้นงานเล็กน้อย พอแยกชิ้นส่วนออกมาจากแผงแล้วค่อยใช้มีดหรือตะไบ ตัดแต่งส่วนที่เกินมาออกไป ก็จะได้ชิ้นงานที่เรียบร้อยสวยงามพร้อมประกอบตามแบบ
เว้นระยะห่างจากชิ้นงานประมาณนี้ แล้วค่อยตัด
ใช้คัทเตอร์ หรืออาร์ตไนท์ เก็บชิ้นส่วนที่เกินมาออกไป ตัดชิ้นส่วนแล้วนำมาประกอบตามแบบ จนสำเสร็จเป็นตัวแบบนี้ ได้ไม่ยาก ด้วยเทคนิคที่ว่ามาก็น่าจะช่วยไดให้สามารถประกอบหุ่นออกมาเป็นตัวได้สำเร็จแบบนี้ แต่ถ้าจบผลงานที่เท่านี้นักต่อกันพลาเขาเรียกว่าเป็นแค่การต่อดิบเท่านั้น ซึ่งยังมีเทคนิคที่สามารถทำให้กันดั้มของเราสวยขึ้นได้อีก ไปดูต่อกันเลย
2. ปิดรอยแผลหลังจากประกอบเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว อาจจะมีแผลบางจุดที่เกิดจากความผิดพลาดในการตัด หรือเนื้อพลาสติกขึ้นฝ้าขาวเพราะการตัด ทำให้งานออกมาไม่สวย ก็สามารถใช้กระดาษทรายน้ำ แบบละเอียด ขัดให้ชิ้นงานเรียบเนียน ซึ่งถ้าเป็นแผลลึกแนะนำให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 400 ขัดแผลออกไปก่อน แล้วค่อยใช้กระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดเพื่อให้พื้นผิวเรียบเนียนอีกที
2. ปิดรอยแผลหลังจากประกอบเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว อาจจะมีแผลบางจุดที่เกิดจากความผิดพลาดในการตัด หรือเนื้อพลาสติกขึ้นฝ้าขาวเพราะการตัด ทำให้งานออกมาไม่สวย ก็สามารถใช้กระดาษทรายน้ำ แบบละเอียด ขัดให้ชิ้นงานเรียบเนียน ซึ่งถ้าเป็นแผลลึกแนะนำให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 400 ขัดแผลออกไปก่อน แล้วค่อยใช้กระดาษทรายเบอร์ 1000 ขัดเพื่อให้พื้นผิวเรียบเนียนอีกที
วิธีการใช้กกระดาษทรายจำเป็นต้องขัดในระหว่างที่ชิ้นงานและกระดาษทรายเปียกน้ำ จะดีที่สุด
3. ตัดเส้น (วาดลาย)
หลังจากประกอบหุ่นออกมาเป็นตัวแล้วให้ลองสังเกตลวดลายที่เป็นเส้นลึกลงไปตามตัวหุ่น ซึ่งการจะทำให้ผลงานของเราสวยขึ้นก็สามารถทำได้โดยการย้ำลวดลายบนตัวหุ่นให้เด่นชัดขึ้นโดยการใช้ปากกาสีดำวาดทับลงไปบนลวดลายนั้น แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคเฉพาะช่วยทำให้ผลงานออกมาสวยงาม เริ่มจากปากกาที่จะใช้ตัดเส้น แนะนำว่าให้หาปากกา GUNDAM MARKER ที่มีขายที่ร้านที่เราซื้อหุ่นมานั่นเอง โดยปากกาชนิดนี้จะมี 2 สูตรคือ 1. สูตรทินเนอร์ : ใช้เหมือนปากกาหมึกซึมทั่วไป สามารถลากเส้นวาดลวดลายได้เลย ลบรอยเลอะด้วยยางลบดินสอ 2. สูตรน้ำมัน : เป็นปากกาแบบใหม่ที่ทำขึ้นสำหรับต่อกันพลาโดยเฉพาะ ใช้งานโดยกดหัวปากกาแล้วหมึกจะไหลไปตามร่องนั้นตามแรงโน้มถ้วง ลบรอยที่เลอะออกมาด้วยน้ำมันรอนสัน การเลือกใช้ก็เลือกตามวิธีที่ถนัดได้เลย การตัดเส้นต้องอาศัยทักษะงานศิลปะพอสมควร แต่ถ้าเส้นเลอะออกมา สามารถลบส่วนที่เลอะออกมาได้โดยใช้ยางลบที่ใช้ลบดินสอธรรมดา นำมาลบรอยหมึกได้ แต่ถ้ารอยหมึกอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก ให้ใช้คัทเติลบัท ที่เราเอาไว้ใช้เช็ดหูนำมาชุบน้ำยาทำความสะอาดCD หรือน้ำมันรอนสัน ให้พอชุ่มแล้วใช้เช็ดรอยเลอะของหมึกได้เช่นกัน น้ำยาทำความสะอาด CD หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือซีเอ็ด SE-ED ** ถ้าหาซื้อ Gundam Marker ไม่ได้ก็สามาถใช้ปากกาหมึกซึมธรรมดาแทนก็ได้แต่ควรเลือกใช้เป็นหัวเล็กขนาด 0.05 จะทำให้ได้เส้นที่คมสวย ลองเปรียบเทียบผลงานก่อนและหลังตัดเส้น มีความแตกต่างกันมากพอสมควร
ภายในกล่องกันพลาที่เราซื้อมาจะแถมสติกเกอร์สำหรับตกแต่งหุ่นของเราให้สวยงามมาด้วย โดยสติ๊กเกอร์จะแบ่งได้ 4 ประเภทด้วยกันคือ
- สติ๊กเกอร์ธรรมดา
วิธีการติดก็ไม่ยาก ก็เหมือนกับสติ๊กเกอร์ทั่วๆไปคือแกะแล้วติด แต่เทคนิคติดให้สวยคือการใช้มีดอาร์ตไนท์ช่วยย้ำรอยก่อนลอกออกมาใช้ เพื่อป้องกันการฉีกขาด แล้วใช้มีดอาร์ตไนท์ช่วยทาบ ในระหว่างติดสติกเกอร์ไปบนชิ้นงานจะช่วยให้ได้ตำแหน่งที่ตรงมากขึ้น
-สติ๊กเกอร์ฟิล์ม
เป็นสติ๊กเกอร์ลวดลายที่วางอยู่บนพื้นใส มีความบางกว่าสติกเกอร์ทั่วๆไป หลังจากติดไปบนชิ้นงานแล้ว ถ้ามองผ่านๆแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกับชิ้นงานไปเลย แต่ต้องระวังเพราะสติ๊กเกอร์ฟิล์มจะบอบบางกว่าแบบทั่วๆไป ขอแนะนำว่าให้ใช้มีดอาร์ตไนท์ช่วยระหว่างติดจะดีกว่า
- สติ๊กเกอร์ขูด (ดีคอล)
เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีความบางและให้รายละเอียดที่ดีที่สุดแต่ต้องใช้ขั้นตอนการติดที่ยุ่งยากที่สุดเช่นกัน เริ่มจากใช้กรรไกรหรือคัทเตอร์ตัดลายที่จะติดออกมาจากแผ่นใหญ่ก่อน แล้วนำลายด้านที่เป็นฟิล์มแปะเข้ากับสก๊อตเทปใส แล้วนำไปทาบเข้ากับชิ้นงานให้ตรงตำแหน่ง แล้วค่อยขูดลายให้แนบกับชิ้นงาน แล้วค่อยๆแกะเทปใสออกจากชิ้นงาน ก็เป็นอันเรียบร้อย - สติ๊กเกอร์น้ำ (ดีคอล)
เป็นสติ๊กเกอร์ที่มีความบางและให้รายละเอียดที่ดีที่สุดและติดง่ายกว่าแบบขูด เริ่มจากใช้กรรไกรหรือคัทเตอร์แยกลายที่จะติดออกมาจากแผ่นใหญ่ก่อน แล้วนำไปลอยในน้ำ รอประมาณ 1 นาที แล้วค่อยใช้คีมจับสติ๊กเกอร์ออกมาซับน้ำ แล้วนำไปทาบกับชิ้นงาน แล้วใช้ คัทเติลบัท เขี่ยลายออกมาบนชิ้นงานแล้วซับน้ำ รอให้แห้งเป็นอันเสร็จเรียบร้อย
5. พ่นสีเคลียเก็บงาน
5. พ่นสีเคลียเก็บงาน
เมื่อผ่านขั้นตอน ตัดเส้น และติด สติ๊กเกอร์ ไปแล้ว หากทิ้งผลงานไว้แบบนั้นเป็นเวลานานอาจทำให้รายละเอียดที่อุส่าทำมาเกิดการหลุดลอกได้ ขั้นตอนสุดท้ายในการต่อกันพลาจึงควรจบด้วยการใช้ สีกระป๋องสเปรย์ พ่นเคลือบทับไปอีกที่เพื่อปกป้องรายลเอียดชิ้นงานที่อุส่าทำมาให้ติดแน่นทนนาน โดยสีที่แนะนำให้ใช้ควรจะเป็นแบบ Fat Clear หรือเคลียด้าน ยี่ห้อที่แนะนำคือของ TOP COAT สูตรน้ำที่มีความปลอดภัยกว่าแต่มีราคาสูงเพราะเป็ของญี่ปุ่น หรือจะใช้สูตรทินเนอร์แนะนำให้ใช้ของ Layland เพราะไม่กัดเนื้อพลาสติก สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างทั่วไป (ยี่ห้อนี้บนห้างไม่มีขาย) *
**ควรใช้สีสเปรย์ 2 ยี่ห้องนี้เท่านั้น ถ้าเป็นยี่ห้ออื่นจะกัดเนื้อพลาสติกจนพังได้เลย เตือนแล้วนะ
เทคนิคการพ่นถ้าให้ดีที่สุดควรแกะชิ้นงานที่ประกอบแล้วออกมาให้เป็นชิ้นส่วนย่อยให้มากที่สุด เพื่อให้สีที่พ่นออกมาสัมผัสกับพื้นผิวได้ทั่วถึง แต่สำหรับคนขี้เกียจอย่างผมแค่แยกพ่นเป็นส่วน หัว ลำตัว แขน ขา ปีก ก็ถือว่าโอเคแล้ว โดยระหว่างพ่นให้ใช้ไม้เสียบลูกชิ้น เสียบติดกับชิ้นงานจะทำให้พ่นสีโดนชิ้นงานได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น หลังจากพ่นสีชิ้นงานเสร็จแล้วก็นำมาเสียบปักไว้กับกล่องกระดาษ หรือเศษโฟมที่พอหาได้ เพื่อรอให้ชิ้นงานแห้งสนิทก็เป็นอันใช้ได้ เปรียบเทียบชิ้นงานที่พ่นเคลียด้าน สีพลาสติกและรายละเอียดที่เราทำไว้จะโดดเด่นขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด แต่กับชิ้นที่ไม่พ่นจะมีความเงาของพลาสติกอยู่ มองเห็นความก๊องแก๊งแบบพลาสติกชัดเจน
เปรียบเทียบผลงานต่อดิบธรรมดา กับ ผลงานที่ผ่านการตัดเส้น ติดดีคอล พ่นเคลีย ดูสวยขึ้นบ้างไหม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น